นโยบายการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน

นโยบายการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน

        ตามเกณฑ์มาตรฐาน FSC-STD-LAO-01-2020 EN ข้อที่ 1.8 องค์กรจะแสดงให้เห็นถึงความ มุ่งมั่นระยะยาวในการปฏิบัติตามหลักการ Forest Stewardship Council (FSC) และเกณฑ์ในหน่วยการจัดการ และนโยบายและมาตรฐาน FSC ที่เกี่ยวข้องนั่น SPD จึงกําหนดนโยบายการจดัการป่าไมอ้ย่างยั่งยืนให้เกิดความยั่งยืนทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย ความยั่งยืนทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ เพื่อ ประโยชน์ต่อสังคม รวมถึงการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นด้านอุตสาหกรรมไม้และบริการ ตลอดจน พัฒนาและเผยแพร่ความรู้ ภูมิปัญญาแก่ชุมชนตลอดระยะเวลาการได้รับการรับรองตามมาตรฐาน FSC และตลอดไป โดยการดําเนินการ

1.ด้านานกฎหมาย SPD จะจัดให้มีมาตรการ แนวทาง และวิธีปฏิบัติ ดังนี้

                1.1 รวบรวม ศึกษา สรุป และปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่บังคับใช้ทั้งหมด รวมถึงข้อบังคับ และให้สัตยาบันในสนธิสัญญาระหว่างประเทศอนุสัญญาและข้อตกลง
                1.2 มีมาตรการเพื่อให้ความคุ้มครองจากการเก็บเกี่ยวโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือผิดกฎหมาย
                1.3 กระบวนการระงับข้อพิพาท
                1.4 จะไม่เสนอหรือรับสินบนเป็นเงินหรือการทุจริตในรูปแบบอื่น ๆ และจะปฏิบัติตามกฎหมายต่อต้านการทุจริต

2.ด้านสังคม SPD จะจัดให้มีมาตรการ แนวทาง และวิธีปฏิบัติ ดังนี้

                2.1 มีมาตรการการจ้างงานตามประกาศขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ(ILO)
                2.2 มีแนวทางปฏิบัติด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทํางาน
                2.3 มีแผนการฝึกอบรมคนงานประจําปี
                2.4 สอบถามผู้บริหารท้องถิ่น หรือเจ้าแขวงนั้นๆ เกี่ยวกับการมีอยู่ของชนพื้นเมืองและระบุสิทธิต่างๆ ของชนพื้นเมืองในพื้นที่ (หากมี)
                2.5 รับรองและรักษาสิทธิตามกฎหมาย และตามจารีตประเพณีของชนพื้นเมือง (หากมี)
                2.6 ประเมินผลกระทบกับชุมชนท้องถิ่นในแต่ละกิจกรรม
                2.7 ระบุสิทธิต่างๆ ของชุมชนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชน 1.5-1.8
                2.8 มีการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ
                2.9 มีแนวทางการระบุ หลีกเลี่ยงและลดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
                2.10 มีข้อตกลงการใช้ความรู้และทรัพย์สินทางปัญญาของชุมชนท้องถิ่น
                2.11 มีแผนการจัดการด้านสังคม (รายปี และ 5 ปี ) ทีระบุค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น

3.ด้านสิ่งแวดล้อม SPD จะจัดให้มีมาตรการ แนวทาง และวิธีปฏิบัติ ดังนี้

                3.1 มีแนวทางในการจัดการพื้นที่ที่มีคุณค่าด้านการอนุรักษ์สูง (HCVA)
                3.2 มีแผนการจดัการด้านสิ่งแวดล้อม (รายปี และ 5 ปี ) ที่ระบุค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น
                3.3 ประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือการสํารวจความหลากหลายทางชีวภาพ
                3.4 มีมาตรการปองกันผลกระทบในพื้นที่อนุรักษ์
                3.5 มีการประเมินความเสี่ยงและแผนการปองกันผลกระทบเชิงลบจากกิจกรรมต่างๆ
                3.6 มีมาตรการปองกัน และฟื้นฟูชนิดพันธุ์ที่หายากและถูกคุกคาม รวมถึงสายพันธุ์ที่ระบุไว้ในบัญชี CITES
                3.7 มีแผนที่จําแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แสดงพื้นที่อนุรักษ์ หรือตัวแทนระบบนิเวศคิดเป็น 10% ของพื้นที่
                3.8 มีแนวทางจัดทําป้ายแสดงแนวเขตต่างๆ
                3.9 มีมาตรการป้องกันและฟื้นฟูพื้น ที่ภูมิทัศน์ที่มีความหลากหลาย
                3.10 มีหลักฐานที่แสดงว่าไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อการเสื่อมโทรมของพื้นที่หลังเดือนพฤศจิกายน 2537
                3.11 มีการสํารวจคุณค่าด้านการอนุรักษ์สูง ระบุภัยคุกคาม มาตรการป้องกันภัยคุกคามรวมถึงแผนการตรวจสอบผลการดําเนินงานตามมาตรการด้วย
                3.12 มาตรการบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
                3.13 มีแนวทางการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืช
                3.14 มีมาตรการป้องกันผลกระทบจากการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืช
                3.15 มีแนวทางการตรวจสอบ และควบคุมการใช้สารควบคุมทางชีวภาพ
                3.16 มีมาตรการป้องกันผลกระทบจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและวนวัฒน์วิธีต่อดินและน้ำ
                3.17 มีแนวทางการกําจัดขยะและของเสีย

4.ด้านเศรษฐกิจ SPD จะจัดให้มีมาตรการ แนวทาง และวิธีปฏิบัติ ดังนี้

                4.1 ระบุชนิดและปริมาณไม้ที่มีอยู่ในพื้นที่
                4.2 มีแผนการจัดการด้านเศรษฐกิจ (ค่าใช้จ่ายและรายได้) อย่างยั่งยืน (รายปี และ 5 ปี )
                4.3 มีแนวทางการทําไม้ที่มีประสิทธิภาพ และคํานึงถึงคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม
                4.4 มีแนวทางการส่งเสริมผลผลิตที่ไม่ใช่เนื้อไม้ ร่วมกันกับชุมชน
                4.5 มีแนวทางในการปรับปรุง สรุปและเผยแพร่แผนการจัดการต่อสาธารณะ
                4.6 มีแนวทางกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับผลกระทบ และผู้ที่สนใจ
                4.7 มีการบันทึกผลการตรวจสอบตามแผนการจัดการ สรุปและเผยแพร่ต่อสาธารณะ
                4.8 มีระบบควบคุมการเคลื่อนย้ายของสินค้าไม้
                4.9 มีแผนการปลูกต้นไม้หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยระบุเหตุผลการเลือกชนิดไม้ที่ปลูก
                4.10 แนวทางการคัดเลือกชนิดพันธุ์ที่ใช้ในพื้นที่
                4.11 มีการระบุแนวปฏิบัติทางวนวัฒน์ที่เหมาะสมในแผนการจัดการ
                4.12 มีแนวทางการใช้ปุ๋ยเคมีควบคู่กับการใช้ปุยอินทรีย์
                4.13 มีระบบการจัดการศัตรูพืชแบบบูรณาการ
                4.14 ประเมินความเสี่ยง และดําเนินกิจกรรมที่ลดผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นจากอันตรายจากธรรมชาติ
                4.15 มีแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ถนนและการขนส่ง
        ทั้งนี้ SPD มีความยินดีให้ความร่วมมือกับคณะผู้ตรวจรับรองของมาตรฐานสากลตามความเหมาะสม และหากSPD ได้รับการรับรองตามมาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยังยืนแล้ว SPD พร้อมที่จะปฏิบัติตามหลักการและเกณฑ์มาตรฐานสากล ตลอดจนข้อแนะนําของผู้ตรวจรับรองทุกประการ